สาระความรู้มากมายที่จะทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองมีสาระทุกครั้ง

September 2014Monthly Archives

ความรู้รอบตัวที่ใครๆก็หาได้ไม่ยากในโลกใบนี้

ในชีวิตประจำวันเรามักจะพบเห็นอยู่เสมอว่าคนบางคนไม่เคยเรียนหนังสือ หรืออาจจะเรียนมาน้อย แต่มีหลักการ แนวคิดและองค์ความรู้สะสมอยู่ในตัวมากมาย จนบางครั้งคนเหล่านี้มีความรู้ในบางเรื่องดีกว่าคนที่มีดีกรีด๊อกเตอร์เสียอีก การพัฒนาองค์ความรู้ให้กับตัวเองนั้นไม่ได้จำกัดเพียงการผ่านกระบวนการศึกษาหรือเรียนรู้จากคนอื่นเท่านั้น ตัวเราเองก็สามารถคิดค้น พัฒนาและเข้าถึงองค์ความรู้ได้ ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่าเราเชื่อมั่นในตัวเราเองมากน้อยเพียงใดว่าเราสามารถพัฒนาองค์ความรู้ขึ้นมาเองได้ องค์ความรู้ในโลกนี้มันมีของมันอยู่แล้ว ไม่มีอะไรเป็นความรู้ใหม่ แต่สิ่งที่เราเรียกว่าความรู้ใหม่คือ ความรู้ที่คนเพิ่งเข้าถึง เพิ่งทราบ เพิ่งเห็น เพิ่งนำมาใช้งาน

ความรู้นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะกำหนดขอบเขตของความหมาย สิ่งที่ได้คือความจริงต่างๆที่ปรากฏเกิดขึ้น การดำเนินการต่างๆทำให้เกิดข้อมูล เช่น เมื่อเรามีการซื้อขายสินค้า ก็มีการจดบันทึกหลักฐาน เช่น การออกใบเสร็จ ใบสั่งของ เอกสารกำกับ เป็นรายการแสดงการดำเนินการ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าข้อมูล ข้อมูลจึงเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกิดจากกิจกรรมต่างๆที่ต้องดำเนินการทั้งในระดับส่วนตัว ระดับการทำงานร่วมกัน และระดับกลุ่ม องค์กร ตลอดจนระดับสังคม และชุมชนต่างๆ

เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้ คือ การใช้ประโยชน์จากความรู้มาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ การจัดการความรู้มีความสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็ตาม ดังนั้นการจัดการความรู้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับองค์กร เป้าหมายที่สำคัญของการจัดการความรู้ในองค์กรก็เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ปรับปรุงเทคนิค กระบวนการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

การปฏิรูปองค์การให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศในการเรียนรู้ โดยจะต้องมุ่งความสนใจไปที่ 4 องค์ประกอบ คือ วิสัยทัศน์ วัฒนธรรม กลยุทธ์และโครงสร้างขององค์การ โดยจะต้องเปลี่ยนทั้งวัตถุประสงค์และรูปแบบจากเดิมที่ให้ความสนใจในเนื้องาน และผลิตผล ไปให้ความสนใจกับการเรียนรู้และพัฒนาไปพร้อมกัน อาทิ การกำหนดวิสัยทัศน์ให้พนักงานพร้อมที่ก้าวไปข้างหน้าโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การให้สนับสนุนให้ การกำหนดโครงสร้างองค์กรให้ยืดหยุ่น กะทัดรัด มีการบูรณาการ ไม่คร่ำครึ เข้มงวด โครงสร้างขององค์การแห่งการเรียนรู้จะต้องมีลักษณะเชิงบังคับให้สมาชิกจำเป็นต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอ เช่น จำเป็นต้องอาศัยความรู้ดังกล่าวในการทำงาน เป็นต้น